Master of Art in Political Science :: โครงการศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์(ภาคพิเศษ)

ปรัชญา
                “สร้างโอกาสให้กับบุคลากรในท้องถิ่น  สามารถพัฒนาตนเองโดยผ่านกระบวนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา  สาขารัฐศาสตร์  หมวดวิชาบริหารรัฐกิจอย่างมีระบบ สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ  สังคม  การเมืองและเทคโนโลยี  อันจะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง  องค์กร  ชุมชน  และประเทศชาติต่อไป”

 

ประวัติความเป็นมา

                                สืบเนื่องจากนโยบายของภาครัฐ ที่ต้องการปฏิรูปการบริหารการจัดการ มีการกำหนดระบบธรรมาภิบาลและเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เน้นให้บุคลากรทุกฝ่ายเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเพื่อประโยชน์ต่อประชาชน และประเทศชาติ เพื่อให้ประเทศไทยรองรับการพัฒนาตอบสนองการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  และเทคโนโลยี ที่มุ่งเน้นการบริหารจัดการ จึงเป็นโอกาสที่สถาบันการศึกษาสามารถตอบสนองนโยบายภาครัฐ ที่จะมีส่วนร่วมในการผลิตมหาบัณฑิต ซึ่งเป็นบุคลากรทั้งฝ่ายการเมือง ปกครอง พลเรือน ในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ รวมทั้งภาคเอกชน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถการพัฒนาตนเอง การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแนวคิด แนวทางปฏิบัติงานรองรับการบริหารงานแนวใหม่ให้สอดคล้องกับการปฏิรูประบบราชการและการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจและสังคม นั้น

                                คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ได้ตระหนักถึงบทบาท และมีภาระหน้าที่โดยตรงในการผลิตและพัฒนาบุคลากรอันถือเป็นทุนมนุษย์ (Human Capital) ที่มีความสำคัญยิ่ง เพื่อรองรับความต้องการของประเทศ ดังนั้นจึงจัดทำโครงการศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ (ภาคพิเศษ) สาขาวิชาเอกบริหารรัฐกิจ โดยความร่วมมือกับคณะสังคมศาสตร์ และได้รับอนุมัติใช้หลักสูตร ศศ.ม. (รัฐศาสตร์) ของคณะสังคมศาสตร์ ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2548 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548 เพื่อเปิดสอนเป็นโครงการภาคพิเศษ เริ่มต้นรับนิสิต รุ่นที่ 1 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 ทั้งนี้เพื่อเพิ่มโอกาสให้บุคลากรตามกลุ่มเป้าหมายได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ โดยผ่านการศึกษาอย่างเป็นระบบที่สอดคล้องเหมาะสม อันจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไป

                                ชื่อปริญญา 
ชื่อเต็ม                    :               ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์)
ชื่อย่อ                      :               ศศ.ม. (รัฐศาสตร์)
ชื่อเต็ม                    :               Master of Arts (Political Science)
ชื่อย่อ                      :               M.A. (Political Science)

วัตถุประสงค์ 
1)    เพื่อผลิตมหาบัณฑิตระดับปริญญาโท  สาขาวิชารัฐศาสตร์  หมวดวิชาบริหารรัฐกิจให้มีความรู้ความ สามารถในด้านการบริหารรัฐกิจ  สามารถปฏิบัติงานรองรับกับการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในประเทศและต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 
2)    เพื่อบัณฑิตได้นำความรู้  ด้านการบริหารรัฐกิจไปใช้ในการประกอบการงานอย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพ  เป็นประโยชน์ต่อองค์กร  หน่วยงาน  ชุมชน  และประเทศชาติ 
3)    เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างองค์ความรู้  และงานด้านการบริหารรัฐกิจ  ให้สามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สอดคล้องเหมาะสม  กับชุมชนท้องถิ่น  สังคมไทย  และเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงในประชาคมโลก 
4)    เพื่อให้โอกาสแก่บุคลากรในชุมชนท้องถิ่นในภูมิภาคตะวันตก  ได้เพิ่มพูนศักยภาพของตนให้มีความรู้  ความสามารถ  รู้เท่าทัน  สามารถสร้างความก้าวหน้าในอาชีพการงาน  มีเกียรติภูมิ  มีคุณค่า  และมีคุณภาพชีวิตเพื่อครอบครัวและชุมชน  อันจะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป 
5)    เพื่อเป็นการสนับสนุนการบริหารในระดับท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง  ตามแนวทางรัฐธรรมนูญที่ให้ความสำคัญกับชุมชนและการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ 

วิสัยทัศน์
               “ผลิตมหาบัณฑิต  สาขาวิชารัฐศาสตร์  หมวดวิชาบริหารรัฐกิจให้มีความรู้  คู่คุณธรรม  นำสังคม”

ภารกิจหลักและภารกิจรอง 
            ภารกิจหลัก

  1. จัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตมหาบัณฑิต หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์  (ภาคพิเศษ)
  2. ผลิตมหาบัณฑิตหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์  (ภาคพิเศษ) ให้มีความรู้ความสามารถ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม

           ภารกิจรอง 
1)    บริการวิชาการแก่สังคมและชุมชน
2)    ส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

แผนงานโครงการฯ 
แผนงานบริหาร 
-   การประสานความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงาน  คือ  คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์  โดยออกมาในรูปแบบของคณะกรรมการบริหาร  วินิจฉัยสั่งการกำหนดนโยบายโดยผ่านคณะกรรมการดำเนินงานโครงการฯ
-  มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของอาจารย์และบุคลากรของโครงการฯ อย่างโปร่งใส
-  มีแผนพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ             
-  มีแผนจัดเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร  อัตรากำลังเพื่อเตรียมรองรับงานในระยะต่อไป 
-   จัดซื้อครุภัณฑ์ อุปกรณ์ และสื่อการสอนต่าง ๆ ให้เพียงพอเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

แผนงานพัฒนานิสิต 
-  จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้กับนิสิตโดยจัดโครงการศึกษาดูงานนอกสถานที่ทั้งใน 
และต่างประเทศ 
-   สนับสนุนให้นิสิตเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการและอื่น ๆ ทั้งระดับชาติ และนานาชาติ 
-   การจัดสัมมนาเชิงวิชาการ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS)

แผนงานพัฒนาอาจารย์ 
-   สนับสนุนอาจารย์ให้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น 
-   สนับสนุนอาจารย์ให้อบรมดูงานเพื่อพัฒนาอาจารย์ 
-   สนับสนุนให้อาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการ 
-   สนับสนุนการมีผลงานทางวิชาการด้านอื่น ๆ ของอาจารย์

แผนงานพัฒนาบุคลากร 
-   ปรับตำแหน่งบุคลากรให้เหมาะสมกับความสามารถและภาระงาน
-  สนับสนุนให้บุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน 
-   สนับสนุนให้บุคลากรศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

แผนงานวิจัย 
-   สนับสนุนและส่งเสริมการทำวิจัยของอาจารย์ 
-   แสวงหาแหล่งทุนเพื่อสนับสนุนการทำวิจัย 
-   ส่งเสริมการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัยของอาจารย์ 
-   ส่งเสริมงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS) และวิทยานิพนธ์ให้ได้รับการเผยแพร่และตีพิมพ์

แผนงานประกันคุณภาพ 
-   ดำเนินงานตามแผนพัฒนาปรับปรุงระบบประกันคุณภาพการศึกษาตามคณะทำงานฝ่ายประกันคุณภาพและประเมินผล